7/22/2552



พันธุ์ปลาการ์ตูน

ถิ่นกำเนิด

ปลาการ์ตูนพบได้เฉพาะในเขตมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกบางส่วน ในธรรมชาติปลาการ์ตูนจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล ดอกไม้ทะเลจะมีเข็มพิษแต่กลับไม่ทำอันตรายต่อปลาการ์ตูน ทำให้ปลาการ์ตูนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในดอกไม้ทะเล



ปลาการ์ตูนส้มขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion ocellaris

ชื่อสามัญ : Crown Anemonefish
ขนาด : ขนาดทั่วไปประมาณ 3-7 เซนติเมตร

บริเวณที่พบ : พบอยู่ประจำที่กับดอกไม้ทะเล

ลักษณะนิสัย : โดยทั่วไปแล้วปลาการ์ตูนส้มขาวจะอยู่รวมกันเป็นฝูง กับดอกไม้ทะเล ลักษณะ : ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร(ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้) อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่น้อย อยู่รวมกับปลาชนิดอื่นได้ แต่เนื่องจากเป็นปลาที่รักสงบ เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้จึงทำให้ปลาส้มขาวเกิดความเครียดง่าย ซึ่งมีผลให้ปลาติดเชื้อไวรัสได้ง่าย รักษาลำบากและจะตายในที่สุด



ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : A. frenatus, Brevoort, 1856

ชื่อสามัญ : Tomato anemonefish,
ที่มา : ประเทศออสเตรเลีย

ขนาด : ขนาดทั่วไปประมาณ 3-7 เซนติเมตร ลักษณะนิสัย : ชอบอาศัยอยู่ตามลากูน หรือรอบนอกของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor

ลักษณะ : ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวและครีบเป็นสีแดง มีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา ตอนกลางของลำตัว และโคนหาง ในปลาวัยรุ่นแถบสีขาวที่โคนหางจะหายไปขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามลากูน หรือรอบนอกของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor




ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : A. sebae
ชื่อสามัญ sebae anemonefish,
ที่พบ : ประเทศไทย ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ขนาด : ขนาดทั่วไปประมาณ 3-7 เซนติเมตร
ลักษณะนิสัย : ไม่ชอบว่ายน้ำออกนอกถิ่นที่อยู่ มักจะอยู่เป็นคู่ รักสงบ
ลักษณะ :ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลังเป็นชนิดที่หายาก พบเฉพาะฝั่งอันดามันในที่ลึกตั้งแต่ 2-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังทรายได้แก่ Stichodactyia haddoni มีสีน้ำตาลหนวดสั้นมักอยู่กันเป็นคู่กับลูกเล็ก ๆ 3-4 ตัว





ปลาการ์ตูนอินเดียน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion akallopisos (Bleeker, 1853)
ชื่อสามัญ : Yellow Skunk Anemonefish
ที่มา : ประเทศอินโดนีเซีย
ขนาด : โตเต็มที่แล้วจะมีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว
ลักษณะนิสัย : รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้ม – ขาว
ลักษณะ : ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบอาศัยอยู่ทางฝั่งอันดามัน



ปลาการ์ตูนอานม้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apolymnus
ชื่อสามัญ : saddleback anemonefish,
ที่มา : ประเทศไทย และ แถบทะเลประเทศญี่ปุ่น จนถึงแถบทะเลประเทศออสเตรเลีย ทางตะวันออก ของหมู่เกาะ โซโลมอน ทางตะวันตกของหมู่เกาะสุมาตรา
ขนาด : ขนาดใหญ่ อาจมีขนาดยาวของลำตัวถึง 5-6 นิ้ว
ลักษณะนิสัย : เป็นปลาที่ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน ชอบว่ายน้ำอยู่กับที่ อยู่บริเวณรังที่ทำไว้
ลักษณะ : ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกอยู่ที่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า พบในที่ลึก ตั้งแต่ 2-30 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย คือ Heteractis crispa และ Stichodactyla haddoni พบเฉพาะในอ่าวไทย
ปลาอานม้าจัดเป็นปลาการ์ตูนที่ตกใจง่ายในเวลากลางคืน จากการสังเกตในเวลากลางคืนปลาจะค่อยๆ ว่ายน้ำออกจากบริเวณรังที่นอนไปเรื่อยๆ คล้ายกับละเมอ และเมื่อมีเงาเคลื่อนไหวหรือแสงไฟวาบขึ้นมา ปลาจะตกใจและพยายามว่ายน้ำกลับรังอย่างรวดเร็ว



ปลาการ์ตูนแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Premnas biaculeatus
ชื่อสามัญ : S pine - cheek anemonefish,
ที่มา : ประเทศอินโดนีเซีย
ขนาด : ขนาดทั่วไปประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ลักษณะนิสัย : ปลาจะหวงถิ่นมากพบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor
ลักษณะ : ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor


ปลาการ์ตูนดำแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anemonefish
ชื่อสามัญ Red saddleback
ขนาด :ขนาดทั่วไปประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ลักษณะนิสัย : ปลาจะหวงถิ่นมากพบได้ตามแนวประการังตามแนวชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย
ลักษณะ ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน


ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphiprion perideraion
ชื่อสามัญ : Pink skunk Anemonefish
ขนาด : ขนาดทั่วไป 5-6 เซนติเมตร
ลักษณะ : ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวพาดอยู่บริเวณหลังตา อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาด โตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ พบเห็นได้ตามแนวปะการังทางฝั่งอ่าวไทย




การวางไข่และพัฒนาการของไข่

ก่อนที่ปลาจะวางไข่ 2-5 วัน ปลาตัวผู้จะเลือกวัสดุและทำความสะอาด โดยใช้ปากตอด ใช้ครีบอกและครีบหากโบกพัดสิ่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ผิดหน้าของวัสดุให้หลุดไป เมื่อใกล้วางไข่ ปลาตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งใหญ่กว่าปกติ และมีท่อนำไข่โผล่ยาวออกมาประมาณ 4-5 มิลลิเมตร หลังจากนั้น ปลาจะเริ่มวางไข่ภายใน 1 ชั่วโมง แม่ปลาจะวางไข่ติดกับวัสดุที่เลือกไว้แล้ว โดยวางเป็นชุด พ่อปลาก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม เมื่อวางไข่เสร็จพ่อปลาจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยการโบกพัดด้วยครีบ ใช้ปากตอด และเก็บไข่เสียออก แม่ปลาจะเข้าช่วยโบกพัดเป็นครั้งคราว ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน ไข่ก็พร้อมที่จะฟักออกเป็นตัว
ปลาการ์ตูนสามารถที่จะวางไข่ได้ประมาณ เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500-1,000 ฟอง ขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ ในการวางไข่ชุดแรก พบว่าปลามักจะกินไข่ของตัวเองหมดเนื่องจากเกิดอาการตกใจ แต่เมื่อวางไข่ชุดหลังปลาจะเริ่มเคยชินกับการถูกรบกวนและจะไม่กินไข่ของตัวเองอีก
หลังจากการวางไข่ 7-8 วันแล้ว ไข่พร้อมที่จะฟักเป็นตัว สังเกตได้จากตาของตัวอ่อนในไข่มีสีเงินวาว ในตอนเย็นนำใข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวซึ่งติดอยู่กับก้อนหินหรือเปลือกหอยจะฟักออกจากไข่ในเวลากลางคืน






จัดทำโดย

นางสาวณัฐชยา เทียนสว่าง รหัส 49043494278

ที่มา

http://nemotour.com/knowledge/nemo.htm

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no06-08/fish/sec02p03_01.html

http://www.talaythai.com/issue/save/save17.html







7/21/2552